เมนู

10. นิรุตติปถสูตร



ว่าด้วยวิถีทางแห่งนิรุตติ 3 ประการ



[134] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย วิถีทาง 3 ประการ คือ หลักภาษา
ชื่อ และบัญญัติ นี้ไม่ถูกทอดทิ้ง และยังไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูก
ทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้วิญญูชนไม่คัดค้านแล้ว
3 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การนับรูปที่ผ่านพ้นไปแล้ว
ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ว่าได้มีแล้ว การให้ชื่อรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว
การบัญญัติรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว รูปนั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า จักมี
การนับเวทนาที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว
การให้ชื่อเวทนานั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติเวทนานั้นว่า ได้มีแล้ว
เวทนานั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า จักมี การนับสัญญาที่ผ่านพ้นไปแล้ว
ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อสัญญานั้นว่า ได้มีแล้ว
การบัญญัติสัญญานั้นว่า ได้มีแล้ว สัญญานั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า
จักมี การนับสังขารที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า
ได้มีแล้ว การให้ชื่อสังขารนั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติสังขารนั้นว่า
ได้มีแล้ว สังขารเหล่านั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า จักมี การนับวิญญาณ
ที่ผ่านพ้นไปแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้วว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อ
วิญญาณนั้นว่า ได้มีแล้ว การบัญญัติวิญญาณนั้นว่า ได้มีแล้ว
วิญญาณนั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า จักมี.
[135] การนับรูปที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อ
รูปเช่นนี้ว่า จักมี และการบัญญัติรูปเช่นนั้นว่า จักมี รูปนั้นไม่นับว่า

มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว การนับเวทนาที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า
จักมี การให้ชื่อเวทนาเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติเวทนาเช่นนั้นว่า
จักมี เวทนานั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว การนับสัญญาที่ยัง
ไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อสัญญาเช่นนั้นว่า จักมี และ
การบัญญัติสัญญาเช่นนั้นว่า จักมี สัญญานั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า
มีแล้ว การนับสังขารที่ยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏว่าจักมี การให้ชื่อสังขาร
เช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติสังขารเช่นนั้นว่า จักมี สังขารเหล่านั้น
ไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว การนับวิญญาณที่ยังไม่เกิด ยังไม่
ปรากฏว่า จักมี การให้ชื่อวิญญาณเช่นนั้นว่า จักมี และการบัญญัติ
วิญญาณเช่นนั้นว่า จักมี วิญญาณนั้นไม่นับว่า มีอยู่ ไม่นับว่า มีแล้ว.
[136] การนับรูปที่เกิดแล้ว ปรากฏแล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อ
รูปนั้นว่า มีอยู่ และการบัญญัติรูปเช่นนั้นว่า มีอยู่ รูปนั้นไม่นับว่า
มีแล้ว ไม่นับว่า จักมี การนับเวทนาที่เกิดแล้ว ปรากฏแล้วว่า มีอยู่
การให้ชื่อเวทนาเช่นนั้นว่า มีอยู่ และการบัญญัติเวทนาเช่นนั้นว่า มีอยู่
เวทนานั้นไม่นับว่า มีแล้ว ไม่นับว่า จักมี การนับสัญญาที่เกิดแล้ว
ปรากฏแล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อสัญญาเช่นนั้นว่า มีอยู่ และการบัญญัติ
สัญญาเช่นนั้นว่า มีอยู่ สัญญานั้นไม่นับว่า มีแล้ว ไม่นับว่า จักมี
การนับสังขารที่เกิดแล้ว ปรากฏแล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อสังขารเช่นนั้น
ว่า มีอยู่ และการบัญญัติสังขารเช่นนั้นว่า มีอยู่ สังขารเหล่านั้น
ไม่นับว่า มีแล้ว ไม่นับว่า จักมี การนับวิญญาณที่เกิดแล้ว ปรากฏ
แล้วว่า มีอยู่ การให้ชื่อวิญญาณเช่นนั้นว่า มีอยู่ และการบัญญัติ
วิญญาณเช่นนั้นว่า มีอยู่ วิญญาณนั้นไม่นับว่า มีแล้ว ไม่นับว่าจักมี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิถีทาง 3 ประการ คือ หลักภาษา การตั้งชื่อ และ

บัญญัติ เหล่านี้แล ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ยังไม่เคยถูกทอดทิ้ง ย่อมไม่ถูก
ทอดทิ้ง จักไม่ถูกทอดทิ้ง อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนไม่คัดค้านแล้ว.
[137] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ชนชาวอุกกลชนบท กับชนชาว
วัสสโคตรภัญญโคตรทั้งสองนั้น ล้วนพูดว่าไม่มีเหตุ บุญบาปที่ทำไปแล้ว
ไม่เป็นอันทำ ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ก็ได้สำคัญวิถีทาง 3 ประการนี้
คือ หลักภาษา การตั้งชื่อ และข้อบัญญัติว่า ไม่ควรติ ไม่ควรคัดค้าน
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะกลัวถูกนินทา กลัวกระทบกระทั่ง
กลัวใส่โทษ และกลัวจะต่อความยาว.
จบ นิรุตติปถสูตรที่ 10
จบ อุปายวรรคที่ 1

อรรถกถานิรุตติปถสูตรที่ 10



ในนิรุตติปถสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ภาษานั่นแหละ ชื่อว่า ทางภาษา อีกอย่างหนึ่ง ภาษานั้น ๆ ด้วย
ชื่อว่า ปถะ เพราะเป็นทางแห่งเนื้อความที่พึงรู้แจ้งด้วยอำนาจภาษาด้วย
เหตุนั้นจึงชื่อว่า นิรุตติปถะ. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้แหละ. อนึ่ง
บททั้งสามเหล่านี้ พึงทราบว่าเป็นไวพจน์ของกันและกันทั้งนั้น.
บทว่า อสงฺกิณฺณา ความว่า ไม่ถูกทอดทิ้ง คือไม่ถูกกล่าวว่า จะเป็น
ประโยชน์อะไรด้วยทางเหล่านี้ แล้วทิ้งเสีย. บทว่า อสงฺกิณฺณปุพฺพา
ความว่า ไม่เคยถูกทอดทิ้งแม้ในอดีต. บทว่า น สงฺกิยนฺติ ความว่า
แม้ในบัดนี้ก็ไม่ถูกทอดทิ้งว่า ประโยชน์อะไรด้วยทางเหล่านี้. บทว่า
น สงฺกิยิสฺสนฺติ ความว่า แม้ในอนาคตก็จักไม่ถูกทอดทิ้ง. บทว่า
อปฺปฏิกุฏฺฐา ได้แก่ไม่ห้ามแล้ว. บทว่า อตีตํ ได้แก่ก้าวล่วงสภาวะของตน